วันพุธที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2555


ยุคหลังสมัยใหม่ (THE POST MODERN ERA)
หลังสมัยใหม่ คืออะไร
         หลังสมัยใหม่ เป็นคำที่มีหลายความหมาย ซึ่งไม่ได้มีขึ้นมาโดยตัวของมันเอง แต่มีขึ้นมาจากการเทียบเคียงกับสมัยใหม่  อย่างไรก็ตาม เราคงไม่สามารถหาวันเวลาที่แน่ชัดของการกำเนิด หลังสมัยใหม่ว่าเกิดขึ้นเมื่อใด ประมาณว่าในช่วงระหว่างทศวรรษที่ 60-70ได้เริ่มมีการพูดถึงประเด็นในเรื่องนี้กันอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะในแวดวงของวรรณกรรมและศิลปะ
           Ihab Hassan ได้ให้คำจำกัดความ “หลังสมัยใหม่” ว่าเป็นยุคที่ไม่สามารถกำหนดได้ ซึ่งเขาหมายถึง “อาณาบริเวณที่วาทกรรม”ต่างๆ ทำหน้าที่ของมัน โดยที่ความหลากหลายของแนวคิดจะช่วยให้เราตระหนักถึง “รหัส” ที่อยู่รอบๆ ตัวของเรา โดยเฉพาะที่ปรากฏอยู่ในภาษา Hassanได้พยายามรวบรวมลักษณะของแนวคิดแบบหลังสมัยใหม่ที่ปรากฏอยู่ในงานด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นด้าน ภาษาศาสตร์ ทฤษฎีวรรณกรรม ปรัชญา มนุษย์วิทยา รัฐศาสตร์ ตลอดจนเทววิทยา จากนักคิด นักเขียนหลายๆ กลุ่มทั้งจากยุโรป และอเมริกา โดยทำการเปรียบกับรูปแบบที่ปรากฏในงานของสมัยใหม่นิยมจากการรวบรวมของ Hassan แนวคิดของหลังสมัยใหม่ มีความแตกต่างอย่างเห็นได้ชัดจากสมัยใหม่ ดังตารางเปรียบเทียบสภาวะสมัยใหม่กับสภาวะหลังสมัยใหม่ตามแนวคิดของ Hassan ดังนี้

          จากตารางการเปรียบเทียบตามแนวคิดของ Hassan ดังกล่าว อาจสรุปได้ว่า ลักษณะของหลังสมัยใหม่มีลักษณะที่สำคัญ คือ เป็นลักษณะของความแตกต่าง, เป็นลักษณะของความสัมพัทธ์, เป็นลักษณะของความไม่ต่อเนื่อง, เป็นลักษณะของการกระจัดกระจายและเป็นลักษณะของความไร้ระเบียบนั้นเอง
จุดเด่นของแนวคิดหลังสมัยใหม่
          Lyotard เห็นว่าลักษณะเด่นของแนวคิดหลังสมัยใหม่นิยม คือ วิกฤตการณ์ที่เกิดขึ้นกับความชอบธรรมของความรู้ในยุคหลัง-อุตสาหกรรม เงื่อนไขของความเป็นหลังสมัยใหม่ คือ การล่มสลายของเรื่องเล่าขนาดใหญ่หรืออภิมหาเรื่องเล่า  นั่นเอง แนวคิดหลังสมัยใหม่นิยม จะช่วยให้เรามองเห็นความแตกต่างท่ามกลางภาพกว้างของกระแสหลัก ซึ่งนอกจากจะช่วยให้เราเห็นความแตกต่างละทิ้งความซ้ำซากแล้วหลังสมัยใหม่นิยม มีพลังสูงพอสมควรในการเขย่ารากฐานและระบบความคิดที่แข็งทื่ออย่างเช่น ปรัชญา วัตถุนิยม จนเกิดการพังทลายและมีความว่างเกิดขึ้นนำไปสู่การสังเคราะห์ใหม่ระหว่างสสาร/ความคิด และที่สำคัญคือ หลังสมัยใหม่สอนให้เรารู้จักคิดแบบองค์รวม  ซึ่งทำให้การศึกษาทางสังคมศาสตร์มีความถ่อมตัวมากขึ้น ในการอ้างถึงความรู้ที่ศึกษาวิจัยมา อย่างน้อยก็ลดระดับการอธิบายการอ้างถึงความสมบูรณ์ของความรู้ครอบคลุมไปหมด จุดเด่นของหลังสมัยใหม่ที่กล่าวมาย่อมแสดงให้เห็นแล้วว่า หลังสมัยใหม่เป็นภาพสะท้อนให้เห็นถึงการพัฒนาและการท้าทายที่ทำให้การอ้างถึงความรู้ที่มีอยู่ในการศึกษาทางสังคมศาสตร์ไม่เป็นแบบเกินเลยและถ่อมตัว/ถ่อมตนมากขึ้น โดยถือว่าความรู้ทุกอย่างล้วนเป็นวาทกรรมทั้งสิ้น
จุดด้อยของแนวคิดหลังสมัยใหม่
           อย่างไรก็ตามแม้ว่า หลังสมัยใหม่ไม่ได้เสนออะไรที่เด่นชัดมากนัก เพราะตัวหลังสมัยใหม่เองเป็นเพียง "กระแสความคิด" มากกว่าจะเป็น "สำนักคิด" ที่มีระเบียบวิธี, ปรัชญา และเป้าหมายในการศึกษาที่ชัดเจนตายตัว แต่อย่างไรก็ดีไม่ได้หมายความว่าหลังสมัยใหม่จะไม่มีอะไรเลย และไม่มีอะไรที่เป็นแก่นสารอยู่ข้างใน  สำหรับผู้เขียนแล้ว นี้ก็เป็นการกล่าวหากันเลื่อนลอยจนเกินไป
อิทธิพลที่มีต่อศิลปะในยุคหลังสมัยใหม่
      การปฎิเสธศูนย์กลาง ก็คือ การปฎิเสธอำนาจครอบงำ เน้นชายขอบซอกมุม เพื่อปลดเปลื้องการครอบงำทางด้านเวลา เทศะ และอัตลักษณ์ที่ยังหลงเหลืออยู่ ดังปรากฏในสถาปัตยกรรมจำนวนมากที่เลิกเน้นศูนย์กลาง และการปฎิเสธความเป็นเอกภาพ หรือ องค์รวม ภาพเขียนหรือสถาปัตยกรรมจึงไม่จำเป็นต้องจบสมบูรณ์อาจเป็นหลายเรื่องซ้อนเร้นกัน    
     ศิลปะยุดหลังสมัยใหม่โดยรวมแล้วจะคัดค้านโครงสร้างระเบียบ ลำดับ ไม่ยึดติดกับโครงสร้างเพราะถือได้ว่าเป็นแนวคิดหลังโครงสร้างนิยม และแนวคิดนี้จะต่อต้านจุดเริ่มต้นทางประวัติศาสตร์แต่จะโหยหาอดีต เนื่องจากความไม่มั่นคงทางอัตลักษณ์ อดีตของพวกเขาไม่ใช่ประวัติศาสตร์ แต่เป็นการทำลายประวัติศาสตร์เพราะมันถูกนำมาอยู่ในปัจจุบันหรือหลุดไปจากบริบทอย่างสิ้นเชิง

สังคมในยุคหลังสมัยใหม่
     ยุคหลังสมัยใหม่กำลังก้าวเข้ามาแทนที่ยุคสมัยใหม่อย่างท้าทาย ด้วยนัยแห่งการเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจ การเมือง สังคมและวัฒนธรรม อาทิ เช่น


1. ลักษณะทางเศรษฐกิจที่ก้าวเข้าสู่เศรษฐกิจแบบบริโภคนิยมมวลชน (Mass Consumerism)  ความเป็นยุคทุนนิยมตอนปลาย

2. ลักษณะการผลิตเป็นแบบหลังอุตสาหกรรม (Post-Industrial) ความเป็นสังคมข่าวสาร สังคมที่ประกอบขึ้นจากการจำลอง

3. ลักษณะล้ำความจริง (Hyperreality) การยุบตัว (Implosion) รวมถึงรูปแบบใหม่ทางเทคโนโลยีและวัฒนธรรม เป็นยุคที่สื่ออิเลคโทนิคส์ ซึ่งสามารถตัดข้ามผ่านพื้นที่ทางกายภาพจะเข้ามาแทนที่ "ชุมชน" อันจะทำให้แนวคิดเรื่องสังคมจะกลายเป็นเพียงภาพลวงตา
                        ***************************************************         
ที่มา :

















วัฒนธรรมตะวันออกและตะวันตกที่มีอิทธิพลต่อสังคมไทย

วัฒนธรรมตะวันออกและตะวันตกที่มีอิทธิพลต่อสังคมไทย
     การติดต่อกับชาวต่างชาติของคนไทยในยุคสมัยต่าง ๆ มีผลต่อสังคมไทยหลายด้าน วัฒนธรรมตะวันออกและตะวันตกได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมไทย โดยวัฒนธรรมบางอย่างได้ถูกปรับใช้ให้เหมาะสมกับวิถีชีวิตและประเพณีดั้งเดิมของคนไทย ขณะที่วัฒนธรรมบางอย่างรับมาใช้โดยตรง

1. วัฒนธรรมตะวันออกที่มีอิทธิพลต่อสังคมไทย  อิทธิพลของวัฒนธรรมตะวันออกต่อสังคมไทย มีมาตั้งแต่ก่อนการตั้งอาณาจักรของคนไทย เช่น สุโขทัย ล้านนา ซึ่งมีทั้งวัฒนธรรมที่รับจากอินเดีย จีน เปอร์เซีย เพื่อนบ้าน เช่น เขมร มอญ พม่า โดยผ่านการติดต่อค้าขาย การรับราชการของชาวต่างชาติ การทูต และการทำสงคราม สำหรับตัวอย่างอิทธิพลของวัฒนธรรมตะวันออกที่มีต่อสังคมไทยมีดังนี้
1. ด้านอักษรศาสตร์ เช่น ภาษาไทยที่ถูกประดิษฐ์ขึ้นในสมัยสุโขทัยได้รับอิทธิพลจากภาษาขอม รับภาษาบาลี ภาษาสันสกฤตจากหลายทางทั้งผ่านพระพุทธศาสนา ผ่านศาสนาพราหมณ์-ฮินดู จากอินเดีย เขมร นอกจากนี้ ในปัจจุบันภาษาจีน ญี่ปุ่น เกาหลี ก็ได้มีอิทธิพลต่อสังคมไทยมากขึ้น
2. ด้านกฎหมาย มีการรับรากฐานกฎหมาย มีการรับรากฐานกฎหมายอินเดีย ได้แก่ คัมภีร์พระธรรมศาสตร์ โดยรับผ่านมาจากหัวเมืองมอญอีกต่อหนึ่ง และกลายเป็นหลักของกฎหมายไทยสมัยอยุธยาและใช้มาถึงสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น
3. ด้านศาสนา พระพุทธศาสนาเผยแผ่อยู่ในผืนแผ่นดินไทยมาเป็นเวลายาวนานแล้ว ดังจะเห็นได้จากแว่นแคว้นโบราณ เช่น ทวารวดี หริภุญชัยได้นับถือพระพุทธศาสนา หรือสุโขทัย รับพระพุทธศาสนาจากนครศรีธรรมราชและได้ถ่ายทอดให้แก่อาณาจักรอื่น ๆ ซึ่งมีผลต่อการดำเนินชีวิตและการสร้างสรรค์ศิลปวัฒนธรรมของคนไทยตลอดมา นอกจากนี้ คนไทยยังได้รับอิทธิพลในการนับถือศาสนาอิสลามที่พ่อค้าชาวมุสลิมนำมาเผยแผ่ รวมทั้งคริสต์ศาสนาที่คณะมิชชันนารีนำเข้ามาเผยแผ่ในเมืองไทยนับตั้งแต่สมัยอยุธยาเป็นต้นมา
4. ด้านวรรณกรรม ในสมัยอยุธยาได้รับวรรณกรรมเรื่องรามเกรียรติ์ มาจากเรื่องรามายณะของอินเดีย เรื่องอิเหนาจากชวา ในสมัยรัตนโกสินทร์ได้มีการแปลวรรณกรรมจีน เช่น สามก๊ก ไซอิ๋ว วรรณกรรมของชาติอื่น ๆ เช่น ราชาธิราชของชาวมอญ อาหรับราตรีของเปอร์เซีย เป็นต้น
5. ด้านศิลปวิทยาการ เช่น เชื่อกันว่าชาวสุโขทัยได้รับวิธีการทำเครื่องสังคโลกมาจากช่างชาวจีน รวมทั้งรูปแบบสถาปัตยกรรมเนื่องในพระพุทธศาสนาจากอินเดีย ศรีลังกา
6. ด้วยวิถีการดำเนินชีวิต เช่น คนไทยสมัยก่อนนิยมกินหมากพลู รับวิธีการปรุงอาหารที่ใส่เครื่องแกง เครื่องเทศจากอินเดีย รับวิธีการปรุงอาหารแบบผัด การใช้กะทะ การใช้น้ำมันจากจีน ในด้านการแต่งกาย คนไทยสมัยก่อนนุ่งโจงกระเบนแบบชาวอินเดีย เป็นต้น
********************
2. วัฒนธรรมตะวันตกที่มีอิทธิพลต่อสังคมไทย ไทยได้รับวัฒนธรรมตะวันตกหลายด้านมาตั้งแต่สมัยอยุธยา ในระยะแรกเป็นความก้าวหน้าด้านการทหาร สถาปัตยกรรม ศิลปวิทยาการ ในสมัยรัตนโกสินทร์ตั้งแต่รัชกาลที่ 3 เป็นต้นมา คนไทยรับวัฒนธรรมตะวันตกมากขึ้น ทำให้มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงวิถีของคนไทยมาจนถึงปัจจุบัน ดังอย่างวัฒนธรรมตะวันตกที่มีอิทธิพลต่อสังคมไทยที่สำคัญมีดังนี้
1. ด้านการทหาร เป็นวัฒนธรรมตะวันตกแรก ๆ ที่คนไทยรับมาตั้งแต่อยุธยา โดยซื้ออาวุธปืนมาใช้ มีการสร้างป้อมปราการตามแบบตะวันตก เช่น ป้อมวิไชยประสิทธิ์ที่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ออกแบบโดยวิศวกรชาวฝรั่งเศส ในสมัยรัตนโกสินทร์มีการจ้างชาวอังกฤษเข้ามารับราชการเพื่อทำหน้าที่ให้คำปรึกษาด้านการทหาร มีการตั้งโรงเรียนนายร้อย การฝึกหัดทหารแบบตะวันตก
2. ด้านการศึกษา ในสมัยรัชกาลที่ 3 มีชนชั้นนำจำนวนหนึ่ง เช่น พระอนุชาและขุนนางได้เรียนภาษาอังกฤษและวิทยาการตะวันตก ในสมัยรัชกาลที่ 4 ทรงจ้างครูต่างชาติมาสอนภาษาอังกฤษและความรู้แบบตะวันตกในราชสำนักในสมัยรัชการลที่ 5 มีการตั้งโรงเรียนแผนใหม่ ตั้งกระทรวงธรรมการขึ้นมาจัดการศึกษาแบบใหม่ ทรงส่งพระราชโอรสและนักเรียนไทยไปศึกษาที่ประเทศต่าง ๆ เช่น โรงเรียนแพทย์ โรงเรียนกฎหมาย ในสมัยรัชกาลที่ 6 มีพระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับและการตั้งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
3. ด้านวิทยาการ เช่น ความรู้ทางด้านดาราศาสตร์ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงใช้ความรู้ทางดาราศาสตร์จนสามารถคำนวณการเกิดสุริยุปราคาได้อย่างถูกต้อง ความรู้ทางการแพทย์สมัยใหม่ ซึ่งเริ่มในสม้ยรัชกาลที่ 3 ในสมัยรัชกาลที่ 5 มีการจัดตั้งโรงพยาบาล โรงเรียนฝึกหัดแพทย์และพยาบาล ความรู้ทางการแพทย์แบบตะวันตกนี้ได้เป็นพื้นฐานทางการแพทย์และสาธารณสุขไทยในปัจจุบันด้านการพิมพ์ เริ่มจากการพิมพ์หนังสือพิมพ์รายปักษ์ภาษาไทยขึ้นเป็นครั้งแรกใน พ.ศ. 2387 ชื่อ "บางกอกรีคอร์เดอร์" การพิมพ์หนังสือทำให้ความรู้ต่าง ๆ แพร่หลายมากขึ้น ในด้านการสื่อสารคมนาคม เช่น การสร้างถนน สะพาน โทรทัศน์ โทรศัพท์ กล้องถ่ายรูป รถยนต์ รถไฟฟ้า เครื่องคอมพิวเตอร์ เป็นต้น ซึ่งช่วยอำนวยความสะดวกสบายให้แก่คนไทยเป็นอย่างมาก
4. ด้านแนวคิดแบบตะวันตก การศึกษาแบบตะวันตกทำให้แนวคิดทางการปกครอง เช่น ประชาธิปไตย คอมมิวนิสต์ สาธารณรัฐแพร่เข้ามาในไทย และมีความต้องการให้มีการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง นอกจากนี้ วรรณกรรมตะวันตกจำนวนมากก็ได้มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนรูปแบบการประพันธ์จากร้อยกรองเป็นร้อยแก้ว และการสร้างแนวคิดใหม่ ๆ ในสังคมไทย เช่น การเข้าใจวรรณกรรมรูปแบบนวนิยาย เช่น งานเขียนของดอกไม้สด ศรีบูรพา
5. ด้านวิถีการดำเนินชีวิต การรับวัฒนธรรมตะวันตกและสิ่งประดิษฐ์ต่าง ๆ มาใช้ ทำให้วิถีการดำเนินชีวิตของคนไทยแบบเดิมเปลี่ยนแปลงไป เช่น การใช้ช้อนส้อมรับประทานอาหารแทนการใช้มือ การนั่งเก้าอี้แทนการนั่งพื้น การใช้เครื่องแต่งกายแบบตะวันตกหรือปรับจากตะวันตก การปลูกสร้างพระราชวัง อาคารบ้านเรือนแบบตะวันตก ตลอดจนนำกีฬาของชาวตะวันตก เช่น ฟุตบอล กอล์ฟ เข้ามาเผยแพร่ เป็นต้น
********************
ที่มา :
http://www.trueplookpanya.com/true/knowledge_detail.php?mul_content_id=2783






เทพเจ้าในความเชื่อของชาวตะวันตก


เทพเจ้าในความเชื่อของชาวตะวันตก
เฮอร์มีส (Hermes) หรือ เมอร์คิวรี่ (Mercury) เทพแห่งการสื่อสาร

     เทพเจ้าเฮอร์มีส (Hermes) หรือ เมอร์คิวรี่ (Mercury) เป็นเทพบุตรของซอสเทพบดี กับนางมายา หรือ เมยา เป็นเทพที่มีผู้รู้จักมาก เนื่องจากรูปของเธอปรากฏคุ้นตาคนมากกว่าเทพองค์อื่นๆ คนมักนำรูปเทพองค์นี้ หรืออย่างน้อยก็ของวิเศษอย่างหนึ่งของเธอ คือ เกือกมีปีก มาแสดงเป็นเครื่องหมายถึงความเร็ว นอกจากเกือก หมวก และไม้ถืออันศักดิ์สิทธิ็ของเธอก็มีปีเหมือนกัน เธอไปได้เร็วยิ่งนัก ถึงแด่ว่ากันว่า "ไปเร็วเพียงความคิด" ทีเดียว  

     หมวกและรองเท้ามีปีของเฮอร์มีสเรียกว่า เพตตะซัส (Perasus) และ ทะเลเรีย (Talaria) เป็นของที่ได้รับจากเทพซุส และได้โปรดให้ท่านเป็นเทพสื่อสารประจำพระองค์ ไม่ถือศักดิ์สิทธิ์ เรียกว่า กะดูเซียส (Caduceus) เดิมเป็นของเทพอพอลโล ใช้ต้อนวัวควายในครอบครอง มีเรื่องเล่าอยู่ว่า ครั้งหนึ่งเทพเฮอร์มีสขฮมยวัวของอพอลโลไปซ่อน อพอลโลรู้รื่องดังกล่าวจึงขอให้เฮอร์มีสคืนวัวที่ขโมยไป แต่เฮอร์มีสกลับปฏิเสธ เทพอพอลโลจึงไปฟ้องเทพซุส และขอให้เฮอร์มีสคืนวัวให้ แต่วัวที่ได้คืนนั้นขาดไป 2 ตัว เพราะเฮอร์มีสนำวัวไปทำเครื่องสังเวยแล้ว ส่วนเทพอพอลโลเห็นเฮอร์มีสมีพิณถือคันหนึ่ง เรียกว่า ไลร์ (Lyre) ทำขึ้นจากกระดองเต่าก็อยากได้จึงขอแลกกับไม้กระดูเซียส ไม้ถือกะดูเซียส ถือว่าเป็นสัญลักษณ์ ของเฮอร์มีสตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ไม้กะดูเซียส เดิมเป็นไม้ถือมีปีกเพียงอย่างเดียว ต่อมาเฮอร์มีสไปพบงู 2 ตัวกำลังต่อสู้กันจึงเอาไม้ทิ่มเข้าระหว่างกลางเพื่อห้ามการต่อสู้ งูจึงเลื้อยขึ้นมาพันอยู่กับไม้โดยหันหัวเข้าหากัน และงูก็พันอยู่กับไม้ถือกะดูเซียสตลอดมา ไม้ถือกะดูเซียสก็กลายเป็นสัญลักษณ์ของความเป็นกลางด้วย ภายหลังได้ใช้เป็นสัญลักษณ์ของวงการแพทย์มาจนบัดนี้

     สิ่งที่น่าแปลกอย่างหนึ่งในตัวของเทพเฮอร์มีส ก็คือแม้ว่าจะเป็นโอรสของเทพซุสกับนางเมยา (ซึ่งเป็นอนุ) แต่ว่าทรงเป็นเทพองค์เดียวของซุสที่ราชินีเทวีฮีร่าไม่เกลียดชัง กลับเรียกหาให้เทพเฮอร์มีสอยู่ใกล้ๆ เสมอ อาจเป็นเพราะบุคลิก และนิสัยของเทพเฮอร์มี ที่ชอบช่วยเหลือทุกคน ไม่ว่าจะเป็นทวยเทพด้วยกัน หรือมนุษย์ธรรมดา เทพเฮอร์มีสมีนิสัยที่เหมือนกับเทพองค์อื่นๆ คือ ไม่ยอมให้เทวีหรือสตรีนางใดเป็นชายา แต่สมัครรักใคร่ไปเรื่อยๆ นับไม่ถ้วน มีเรื่องเล่าว่าเทพเฮอร์มีสชอบเสด็จลงไปในแอนยมโลกบ่อยๆ นั่นเป็นเพราะหลงเสน่ห์ของนางเทวีเพอร์เซโฟนี ผู้เป็นชายาของฮาเดสจ้างแอนยมโลก ยามขึ้นมาสู้ผืนดินเฮอร์มีส ก็รักกับสตรีมนุษย์มากหน้า ที่เป็นที่กล่าวขานมากกับนางเทวีในทำนองรักข้ามรุ่นโดยเฉพาะกับ เฮเคตีและอโฟร์ไดที่แทวี

********************
ที่มา :
http://variety.phuketindex.com/faith/%E0%B9%80%E0%B8%AE%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%A1%E0%B8%B5%E0%B8%AA-hermes-2952.html






วันอาทิตย์ที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2555


ศิลปะตะวันตก
(ยุคหลังลัทธิอิมเพรสชันนิสม์ - สงครามโลกครั้งที่๑)
------------------------------------------------------------------------------------------------
          ความเคลื่อนไหวของศิลปะเอกเพรสชันนิสม์ที่สำคัญมี 2 กลุ่ม คือ
          1. ศิลปินกลุ่มสะพาน (The Bridge)
          2. กลุ่มม้าสีน้ำเงิน (The Blue  Rider)

.ศิลปินกลุ่มสะพาน (The Bridge)
สะท้อนความสับสน ความอัปลักษณ์ของสังคม เศรษฐกิจ การเมือง และศาสนา  ความสกปรกของสังคม ความเหลวแหลกโสมม หลอกลวง  ใช้สีที่รุนแรง (สลายตัว ค.ศ.๑๙๑๓  จากปัญหาวิกฤตสังคมและสงครามโลกครั้งที่๑)
แนวทางการสร้างสรรค์งานจะสะท้อนเรื่องราวทางศาสนาด้วยความรู้สึกโหดร้ายน่าขยะแขยงน่าเกลียด แสดงความรัก กามารมณ์และความตาย ประการสำคัญภาพส่วนใหญ่เน้นแสดงออกทางจิตวิทยามากกว่าความจริง 
2. กลุ่มม้าสีน้ำเงิน (The Blue  Rider)
ได้รับอิทธิพลของโกแกงมากว่าแวนโก๊ะ แนวทางการสร้างสรรค์เป็นแบบผ่อนคลายกระทำความรู้สึกของผู้ชมจากความรู้สึกน่าขยะแขยง เป็นการแสดงอารมณ์แบบรุนแรงที่แผงความสนุกสนาน ใช้สี   เส้น และการแสดงลีลาคล้ายเสียงดนตรี (สลายตัว ค.ศ. 1914 เพราะ WW.I)
***
                ศิลปะลัทธิโฟวิสม์
                ศิลปิน : มาทิสส์ (Matisse)
ผลงานช่วงแรกของมาทิสส์เป็นแบบอิมเพรสชันนิสม์ ผลงานที่สำคัญ คือ “ภาพเปลือยกับลวดลายเบื้องหลัง”  “ห้องสีแดง” มาทิสส์สร้างงานที่ไม่เน้นรายละเอียด ส่งผลต่อวงการประติมากรรมสมัยใหม่เป็นอย่างมาก
                       มาดามมาทิสส์ โดย มาทิสส์, 1905 / ประติมากรรมชุดข้างหลังผู้หญิง,โดย มาทิสส์, 1909-29
***
                 ศิลปินลัทธิเอ็กเพรสชันนิสม์
                 ศิลปิล : เอ็ดวาร์ด มูงค์ (Edvard Munch)
เป็นผู้นำและผู้ให้อิทธิพลแก่ศิลปินกลุ่มเอ็กเพรสชันนิสม์ เกิดวันที่ 12 ธันวาคม 1863 ทางภาคใต้ของนอรเวย์  ผลงานที่มีชื่อเสียงของมูงค์คือ ภาพ เสียงร้องไห้”  หรือ The Cry ซึ่งเขียนในปี ค..1893 เขาสามารถผสานอารมณ์ของเส้น และสีที่ปรากฏในผืนภาพให้กระตุ้นและชักนำอารมณ์ของคนชราได้เช่นเดียวกับเขา 
                                                                    เสียงร้องไห้, มูงส์, 1893
***


                ศิลปินลัทธิบิสม์
                ศิลปิน : ปาโบล ปิคัสโซ (Pablo Picasso)
ปิคัสโซเป็นศิลปินหัวก้าวหน้า พัฒนาผลงานอย่างไม่หยุดยั้ง  เริ่มจากการทำงานตามแบบแผนที่มีโครงสร้าง โดยใช้สีวรรณะเย็นดูเศร้าหมองแบบยุคม้าสีน้ำเงิน  สะท้อนชีวิตที่ยากลำบากของเขา

                                     สมบัติส่วนตัวของปิคัสโซ, 1937
            ศิลปิน : จอร์จ บราค
เกิดที่เมืองเลออาฟร์ ใกล้กรุงปารีสเรียนศิลปะเมื่อายุ 17 ปี โดยมุ่งจะเป็นมัณฑนากรเมื่อพบกับดูฟี (Doufi) และฟิทซ์ (Fitz) ศิลปินลัทธิโฟวิสม์  จึงหันเหสู่การสร้างสรรค์จิตรกรรมและรวมกลุ่มกับศิลปินลัทธิโฟวิสม์ ผลงานชิ้นสำคัญของยอร์จ บราค มี อาที บ้านที่เลสตัคอยู่ที่พิพิธภัณฑ์กรุงเบอร์น โต๊ะนักดนตรี” “แท่นสีดำอยู่ที่พิพิธภัณฑ์ศิลปะสมัยใหม่กรุงปารีส รูปปั้น หัวม้าอยู่ที่พิพิธภัณฑ์ศิลปะสมัยใหม่ กรุงปารีส ฯลฯ

                                      โรเบิร์ต เดอ โลเนย์ (หอไอเฟล)

***
ศิลปะลัทธินามธรรม (Abstractionism Art)
ให้ความสำคัญเรื่องรูปแบบศิลปะหรือปรากฏการณ์ อันเกิดจากการผสานรวมตัวกันของทัศนะธาตุ ( เส้น สี แสงเงา รูปร่าง ลักษณะผิว )ไม่คำนึงถึงเนื้อหาศิลปะ จำแนกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ
1. ศิลปะนามธรรมแบบโรแมนติก
2. ศิลปะนามธรรมแบบคลาสสิค 

1.   ศิลปะนามธรรมแบบโรแมนติก สร้างงานที่แสดงอารมณ์ความรู้สึกอย่างเสรี โดยส่งผ่านลักษณะรูปแบบศิลปะที่อิสระ ศิลปินอาจมีพื้นฐานทางอารมณ์มาจากความรัก ความเศร้า ความห้าวหาญ ฯลฯ แล้วแสดงออกอย่างทันที
2.   ศิลปะนามธรรมแบบคลาสสิกสร้างงานที่ผ่านการคิดไตร่ตรองการวางแผนอย่างมีระบบมีกฎเกณฑ์ โดยใช้รูปทรงเรขาคณิตควบคุม ศิลปินกลุ่มนี้มีมงเดรียน (Mondrian) เป็นผู้นำให้อิทธิพลต่อ Abstract แบบขอบคม (Op Art) ในอเมริกา
                                                         The composition, Kandinsky, 1939
***
                ศิลปิน : แจคสัน พอลลอค (Jackson Pollock)
               ได้รับฉายาว่าเป็นจิตรกรแบบ Action Painting สร้างงานจิตรกรรมโดยการสาด สลัด ราดหรือแม้แต่การเหวี่ยงลงบนพื้นเฟรมด้วยลีล่าท่าทางที่ว่องไว เพื่อบันทึกความรู้สึกของศิลปินเอาไว้ในผืนเฟรม ด้วยสีสัน
***
                ศิลปะลัทธิฟิวเจอริสม์ (Futurism Art)
ศิลปินอิตาลีกลุ่มหนึ่ง มีความเห็นขัดแย้งกับแนวทางศิลปะเชิงขนบนิยมในประเทศของตนอย่างรุนแรง   เริ่มต้นเคลื่อนไหวในปี ค..1909
ศิลปะลัทธิฟิวเจอริสม์ ได้ชื่อจากความเชื่อทางศิลปะของศิลปินและแนวทางการสร้างงาน คือ มุ่งแสดงความรู้  เคลื่อนไหว จากบริบทของสังคมยุคเครื่องจักรกล ที่แพร่ในยุโรป ต้องการแสดงออกถึงลักษณะของสังคมยุคใหม่ เห็นความงามของเครื่องจักรกลที่รวดเร็วและมีพลัง ศิลปะฟิวเจอร์ริสม์จึงเป็นการสร้างผลงานแสดงชีวิตความเป็นอยู่ในปัจจุบันที่ไม่หยุดนิ่ง อันเป็นผลจากการปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์
ศิลปินเกือบทั้งหมดเป็นชาวอิตาลี อาทิ บอคโซนี (Boczoni)/บาลลา (Balla)/คาร์รา(Carra)/เซเวอรินี (Severini)/รุสโซโล (Russolo)

บอคโซนี (Boczoni)
ประสบการณ์ต่าง ๆ เป็นปัจจัยทางปัญญาและความคิด ทำให้บอคโซนีใช้ในการพัฒนาการงานรูปแบบฟิวเจอริสม์ภาพ “เมืองเติบโต” เป็นภาพม้าที่วิ่งเต็มเมือง ผู้คนที่วุ่นวายสับสนท่ามกลางความเร็วและความแออัดยัดเยียด เป็นภาพที่มีความเคลื่อนไหวสั่นพร่าอยู่เบื้องหน้าอาคารสมัยใหม่

                                                          Umberto Boccioni, The City Rises (1910)

***
จิอาโคโม บอลลา (Chiacomo Balla)
                        1. มีคุณูปการต่อศิลปะลัทธิฟิวเจอริสม์มาก
                        2. มีบทบาทสร้างสรรค์งานแบบฟิวเจอริสม์มากและยาวนานที่สุด ตั้งแต่ ค..1920
                        3. เป็นครูของ บอคโซนีและเซเวรินี ในช่วงปี ค..1900

*****************************************************
*********************************************************
************************************************************
ที่มา : Powerpoint ของท่านอาจารย์ พิทยะ ศรีวัฒนะสาร